รวบรวม Code ต่างๆนานา ที่เคยพบเจอมาจากประสบการณ์

UNDERGROUND PROGRAMMER PRESENT

วันพฤหัสบดีที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2560

SQL SERVER#4 SQL Server Import and Export Wizard

ข้อมูลเยอะอ่ะ !! พอมีวิธีเอาข้อมูลจาก Excel เนี๊ยะ เข้าฐานข้อมูลให้หน่อยได้ไหมขี้เกียจคีย์  😴

ก็ตามหัวข้อละนะ โดนถามประจำ ก็อย่างว่าแหละการขึ้นระบบใหม่บางครั้งข้อมูลมันก็เยอะเป็นธรรมดา คนใช้งานก็คงไม่อยากจะป้อนข้อมูลจำนวนมหาศาล เท่าไรหรอก

หน้าที่หนักก็ตกอยู่กับผู้พัฒนาหรือเจ้าหน้าที่ Support นี้ละที่ต้องทำ !!!



เอาละมันก็พอมีวิธีอยู่ มาว่ากัน 
ใน MS SQL Server Management Studio มันก็มีเครื่องมืออยู่ ที่เรียกว่า Import and Export Wizard ซึ่งเจ้าเครื่องมือนี้ทำอะไร ? ใช้งานอย่างไง? เรามาว่ากัน

SQL Server Import and Export Wizard  นี้มันก็เป็นวิธีการง่ายๆ (คิดว่างั้นนะ!) ในการคัดลอกข้อมูลจากแหล่งที่มาไปสู่แหล่งจัดเก็บปลายทางนั่นเอง

แล้วสามารถใช้ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลใดได้บ้างละ ?
ก็เท่าที่ทาง Microsoft ได้กล่าวเอาไว้ก็จะมีดังนี้
  • พวกฐานข้อมูล SQL SERVER, ORACLE, DB2  และอื่นๆ
  • Text File
  • ไฟล์ MS Access, ไฟล์ Excel
  • Azure data source (ตอนนี้จะมีเฉพาะ Azure Blob Storage เท่านั้น พี่แกว่างี้นะ)
  • พวก Open Source Database เช่น PostgreSQL, MySql
  • แหล่งข้อมูลชนิดอื่นที่มี Driver ลองรับ
เอาละเริ่มกันได้เลย Let go !!!!!
1.เรียกใช้งาน
โดยเมื่อติดตั้ง MS SQL Server เสร้จแล้วมันก็จะปรากฏ อยู่ในรายการนั่นละ


* Tip
ให้เลือกใช้ตาม Microsoft Access Database Engine ที่ลงไว้ละว่าเป็น 32 bit หรือ 64 bit ไม่งั้นมันจะ Error ตามภาพ

วิธีการตรวจสอบว่าได้ลงไว้หรือยังนั่น ให้ลองไปอ่านในบทความ SQL SERVER#3 Read excel and insert to table ดูนะ

คลิกโลด


2.กำหนดแหล่งข้อมูล


เลือกแหล่งข้อมูลก่อนเลย ในที่นี้เราใช้ Excel ก็จัดไป ในส่วน Excel Version ส่วนใหญ่มันจะหาแล้ว Default ให้เรา (แต่ต้องมีการติดตั้งไว้ก่อนนะ)

ส่วน  First row has column names อันนี้มันถามว่าจะเอาชื่อ column ในแถวแรกมาเป็นชื่อฟิวล์บ่ ถ้าเอาก็เลือกไปแล้วกด Next...

3. กำหนด SQL Server ปลายทาง

ในส่วนนี้ก็จะให้กำหนด Data provider ต่างๆ (ระบบจะ Default ตาม provider ที่เราใช้อยู่นี้ละ) จากนั้นก็ทำการกำหนด Server name, Authentication, Database ให้เรียบร้อย


4. เลือกว่าจะ Copy table หรือ จะเขียน Query เอง


อันนี้ก็มีให้เลือก 2 แบบละนะ
  • แบบแรกก็เอามาทั้งหมดแหละแล้วค่อยไปจัดการอีกที (ชื่อมันก็บอกน้อ Copy)
  • แบบที่สองคือ การที่เราเขียน  Query เข้าไปจัดการเอา อันนี้เหมาะแก่การยัดข้อมูลเพิ่มเติมเข้าไปในตารางที่มีอยู่แล้วหรือต้องการจะคำนวณ หรือใช้เงื่อนไขในการจัดการข้อมูลต่าง (ต้องแม่นคำสั่งพอควรเลยนะ)
ในที่นี้ขอใช้เป็นแบบแรกละกันน้อง่ายดี 😀😀😀😀

5.เลือก Sheet ข้อมูล

ก็อย่างที่บอกเลือก Sheet ข้อมูลที่ต้องการเอาเข้า และยังสามารถกำหนดชื่อตารางได้ด้วยนะว่าจะให้เข้าตารางไหนหรือจะสร้างใหม่ก็ได้

ในส่วนนี้เราสามารถปรับเปลี่ยนค่า Data type หรือขนาดของการจัดเก็บได้ (กดที่ปุ่ม Edit Mappings..) หรือหากต้องการที่จะแก้ไขในรูปแบบของ SQL Statement ก็สามารถทำได้โดยกดที่ปุ่ม Edit SQL..

6.เสร็จสักที

ส่วนนี้ระบบก็จะทำการสรุปให้เราละนะว่าจะทำไรบ้าง โอเคไหม ถ้าโอเคแล้วก็กด Finish โลด

7.ทบทวนสิ่งที่ดำเนินการ

เรียบร้อย !!!! ตัวเลขที่แสดงจะเป็นจำนวน Rerecord ที่ได้ทำการนำเข้าไป



ก็ตามที่เล่ามาละนะวิธีการมันอาจจะดูง่ายหน่อย แต่มันก็มีส่วนยากอยู่บ้าง ก็ลองๆ ไปทำกันดูละกันนะ แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้านะ 


แถมๆ link ข้างล่างนี้จะรวมวิธีการเชื่อมต่อกับแหล่งข้อมูลต่างๆ นะ













ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น